วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้เล็กๆ ^^

               วันนี้เซขอมีสาระซักวันนึงละกันนะคะ หลังจากที่ครั้งก่อนๆลงไปรู้สึกว่ามีแต่ความคิดและความรู้สึกของตัวเองเท่านั้น วันนี้ลองมาอ่านข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องเบียร์กันดูดีกว่า รับรองว่าได้ประโยชน์กันแน่ๆ ^^








               จากการหาข้อมูลเท่าที่พอจะมีบ้างไม่มีบ้าง พอจะทราบได้ว่าเบียร์ลาเกอร์นั้นในภาษาเยอรมันแปลว่า ที่เก็บรักษา, การกักเก็บ(Storage) ลาเกอร์ถูกคิดค้นขึ้นประมาณในยุค 1800s ในแถบประเทศเยอรมันและ โบฮีเมีย (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐเช็ก) แต่มีบางแหล่งก็กล่าวว่าอาจเริ่มมีตั้งแต่ยุค 1500s เบียร์ลาเกอร์นั้นคาดกันว่าถูกคิดค้นขึ้นมาหลังจากเบียร์ประเภท Ale (เอล) ซึ่งลาเกอร์นั้นจะต่างจากเบียร์เอลตรงที่ยีสต์ที่ใช้ในการหมักลาเกอร์นั้นจะทำงานภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำ (ประมาณน้อยกว่า 55 องศาฟาเรนต์ไฮท์) และจะนอนก้นหลังเสร็จสิ้นกระบวนการหมัก การหมักโดยอุณหภูมิที่ต่ำทำให้ได้ผลผลิตที่ใสและสะอาด ในขณะที่ยีสต์สำหรับเอลนั้นจะทำงานในอุณหภูมิที่สูงกว่าและจะลอยผิว กระบวนการหมักในอุณหภูมิที่สูงของเอลทำให้กระบวนการหมักบ่มใช้เวลาเร็วและโดดเด่นในเรื่องรสชาติและกลิ่นของผลไม้




 

               ดังนั้นเรียกได้ว่าลาเกอร์คือเบียร์ประเภทยีสต์หมักนอนก้น โดยหลังจากเสร็จกระบวนการหมักแล้ว ลาเกอร์จะถูกเก็บไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 0 ถึง 32 องศาเซลเซียส เป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือ หลายเดือน ก่อนจะนำออกบริโภค ซึ่งการมาของเบียร์ลาเกอร์โดยเฉพาะลาเกอร์สีเข้ม (Dark Lager) ทำให้เกิดความนิยมบริโภคเข้าไปสู่กลุ่มคนที่ดื่มเบียร์เอลอยู่ก่อนแล้ว
               เบียร์ลาเกอร์สีอ่อน หรือที่เรียกเป็นภาษาเบียร์ว่า เพล ลาเกอร์ (Pale Lager) เป็นที่นิยมแพร่หลายที่สุดในหมู่นักดื่มและมีหลากหลายในทั่วโลก ซึ่งเพล ลาเกอร์เพิ่งเริ่มมีในตอนปลายยุคศตวรรษที่ 19 นี้เอง และตามมาด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า “เครื่องทำความเย็น(ตู้เย็นนั่นเอง)” จึงทำให้การผลิตเบียร์ลาเกอร์ไม่ต้องพึ่งพาธรรมชาติมากนัก อ้อลืมบอกไป ในยุคที่ไม่มีตู้เย็น ว่ากันว่าในการทำเบียร์ลาเกอร์นั้นจะต้องมีการตัดน้ำแข็งจากแม่น้ำมาทำเป็นถ้ำน้ำแข็งเพื่อใช้เก็บเบียร์หมักเบียร์ลาเกอร์กันเลยทีเดียว และก็จะทำกันได้ในฤดูหนาวเท่านั้นในบางพื้นที่ จึงทำให้การผลิตนั้นค่อนข้างลำบาก แต่หลังจากการมาของเครื่องทำความเย็นส่งผลให้ผลผลิตเบียร์เสถียรและเชื่อถือได้ จึงเกิดเบียร์ เพล ลาเกอร์ ขึ้นมา ข้อมูลเชิงลึกของเบียร์เพล ลาเกอร์ ไว้จะหามาให้เพิ่มเติมคะ นอกจากนั้นยังมีเบียร์ลาเกอร์สีดำที่เรียกว่า ดุงเกิ้ล (Dunkel) และ ชวาสเบียร์ (Schwarzbier), เบียร์พิลเซนเนอร์ (Pilsner), บ๊อก (Bock), ดอร์ทมุนเดอร์ เอ๊กพอร์ท (Dortmunder Export) และ มาเซ่น (Märzen)ถือเป็นเบียร์ในตระกูลลาเกอร์ และนี่ก็ก่อให้เกิดข้อโดนเด่นอีกอย่างของเบียร์เอลที่มีเหนือกว่าเบียร์ลาเกอร์คือ “เอลไม่ง้อตู้เย็น”


 
 
               และนี่ก็เป็นเรื่องราวแบบคร่าวๆนะคะว่าเบียร์ลาเกอร์เป็นแบบใด แล้วในตอนหน้าเซจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเบียร์เอลกันบ้าง สำหรับวันนี้บายยยย
 

 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น