วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ตัวแทน



               เบียร์สไตล์วีทเบียร์คือเบียร์ประเภทที่เกิดจากการหมักชนิคจมตัว เมื่อรินเบียร์ใส่แก้วจะพบกับเนื้อเบียร์สีเหลืองขุ่น มาพร้อมกับกลิ่นผิวของผลไม้รสเปรี้ยวและกลิ่นคล้ายเลมอน เมื่อยกดื่มจะสัมผัสได้ถึงความเป็นวีทเบียร์ได้อย่างชัดเจน ด้วยกลิ่นของกานพลู เลมอน ผิวของผลไม้รสเปรี้ยว และกลิ่นของกล้วยสุกบางๆ
มีเปอร์เซ็นแอลกอฮฮล์ 5% เท่านั้นเอง ถือว่าคุณผู้หญิงก็จิบๆได้นะคะ 55+ เหมือนผนักงานแนะนำสินค้าเลยปะ? ตอนที่ได้ไปทานตัวนี้อันที่จริงเซไม่ได้สั่งตัวนี้นะ เซจะสั่งโฮการ์เด้น แต่!!!!!หมด..........
เจ้าของร้านเค้าเลยบอกว่าให้เอาวีเด็ทไปลองดื่มแทนดูเพราะมาจากเบลเยี่ยมเหมือนกัน และรสชาติจะคล้ายกับโฮการ์เด้นมาก
             
              


 
   สีเหลืองอำพันๆอ่อนคล้ายๆ DOVEL


ใกล้ๆคะ แก้วหนามาก ออกมาตั้งนานยังไม่หายเย็นเลย



แอบเห็นสมุดด้านหลังเพราะมานั่งทำงาน แต่จิบเบียร์ไปด้วย 55+


                อันนี้ขอบอกนิดนึงนะคะสำหรับการที่ไปร้านเบียร์ เวลาที่เราอยากจะทานอะไรแต่หมดให้เราลองสอบถามกับคนที่เค้าพอจะมีความรู้ว่า ให้แนะนำเบียร์ให้หน่อย อย่าแบบว่าพอหมดแล้วก็เปลี่ยนแนวเลยไปกินอย่างอื่น ให้ลองดูคะว่าอะไรที่มันแทนกันได้เพราะมันจะถือเป็นการได้ความรู้อย่างหนึ่ง นะคะ อย่างตัวโฮการ์เด้นเนี่ยะ จะมีตัวที่แทนได้อยู่ 2 ตัวนั้นก็คือ VEDETT และ HITASHINO เพราะสองตัวนี้รสชาติจะคล้ายกันสุดๆไปเลยเหมือนผลิตออกมาจากโรงงานเดียวกัน ยังไงก็ลองหาทานกันดูนะคะ หาซื้อง่ายมากๆ ตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไปก็มีแล้วคะ ^^

               

มาดู LAGER ที่นุ่มๆกันบ้าง

               

               วันนี้นำเสนอ Hacker-Pschorr Münchner Kellerbier - Anno 1417 เป็นเบียร์ Style Keller Bier คือเป็นเบียร์ Lager ที่ผลิตแบบเยอรมันโบราณเป็นเบียร์ลาเกอร์ที่การผลิตจะไม่ผ่านการกรองโดยนำมาบรรจุทันทีหลังจากเก็บในถังบ่ม เบียร์ประเภทนี้เรียกว่า"Kellebier" มีความซ่าน้อยและหวานมากกว่าเบียร์ลาเกอร์อื่นๆ มีฟองหนาเต็มไปด้วยวิตามินจากยีสต์ มีสีอัมพันขุ่น ฟองหนาละเอียด กลิ่นหอมอ่อนๆ ของมอลท์ปนกับผลไม้ และคาราเมลผสมกับฮอพส์ รสนุ่มดื่มง่าย ไม่มีการกรองในขั้นตอนสุดท้าย ทำให้มีวิตามินจากยีสที่คงเหลือ ฟองเยอะ หายช้า ติดแก้วดีทีเดียว ซ่าน้อย กลิ่นออกอับๆ ฟางๆ นิดๆ มีกลิ่นแบบ Lager แต่ก็ให้ความรู้สึกสดชื่น รสออกหวานนิดๆ มันๆ ขมนิดๆ ตอนปลาย body ปานกลาง-แน่น 5.5%Abv.


  
นี่เลยรูปคู่


สังเกตที่ฟองเบียร์จะละเอียดมาก นุ่มสุดๆ



ดีไซด์ฝาเปิดที่เป็นเอกลักษณ์


               สรุป อร่อยดีคะ ดื่มง่ายสบายๆ ตาม style lager แต่มีความแน่นที่มากขึ้น ไม่หวานเกินไป และเซก็ชอบตรงดีไซด์ของฝาเปิดนี่แหละ เก๋มาก ^^ 

               วันนี้ข้อมูลอาจจะน้อยไปหน่อยนะคะเพราะว่าเซไม่ได้ดื่มเอง แอบชิมๆของเพื่อนเอา อิอิ ไว้ถ้ามีโอกาสได้มีแก้วเป็นตัวเองจะมาอัพใหม่ละกันนะคะ ^^

Trappist Rochefort

               เรามาต่อยอดกับเบียร์ที่มีต้นกำเนิด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเบียร์เบลเยียมคือ Trappistเบียร์ทรัปปิสต์จัดเป็น ales beer

ประวัติ
               ในยุคกลางเบียร์เป็นที่นิยมมากในยุโรปเหนือเพราะถูกสุขลักษณะกว่าน้ำและมี คุณค่าทางโภชนาการอยู่ในตัว ช่วงศตวรรษที่ ๑๙ วัดและสำนักสงฆ์นิกายคาทอลิคแถบนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส พัฒนาการผลิตเบียร์เพื่อสร้างรายได้สำหรับซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารและศาสนสถานที่ถูกทำลายไปในเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส แม้เวลาจะร่วงเลยไปเป็นร้อยปี เคล็ดลับในการผลิตเบียร์เหล่านั้นยังคงมีการถ่ายทอดและพัฒนากันจากรุ่นสู่ รุ่น ปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีให้เราได้ลิ้มลองกันอยู่ภายใต้ชื่อ ทรัปปิสต์เบียร์ (Trappist Beer) และแอ็บบีย์เบียร์ (Abbey Beer)เบียร์ที่สามารถเรียกว่า “ทรัปปิสต์” (Trappist) ได้นั้นจะต้องผลิตโดยพระในนิกายคาทอลิคซึ่งมีความเกี่ยวพันกันกับสำนักสงฆ์ La Grande Trappe แห่งนอร์มังดี อันเป็นแหล่งที่มาของชื่อ Trappists ซึ่งปัจจุบันนี้มีแอ็บบีย์เพียง ๗ แห่งในโลกที่ยังคงผลิตเบียร์ทราปปีสต์และได้รับอนุญาตให้ใช้โลโก้ “Authentic Trappist Product” โดย ๖ ใน ๗ แอ็บบีย์นี้อยู่ในประเทศเบลเยียมปริมาณเบียร์ที่ผลิตจึงมีไม่มากนัก แค่เพียงพอสำหรับจะค่าใช้จ่ายภายในวัดและกองทุนการกุศลเท่านั้น ทรัปปิสต์บางแห่งจึงผลิตน้อยและเปิดขายเฉพาะหน้าโรงเบียร์ให้เฉพาะผู้ซื้อ รายย่อย 

               จริงๆแล้ว Trappist มีหลายตัว วันนี้เซขอแนะนำเป็นตัว Trappist Rochefort แล้วกันนะคะ เบียร์สไตล์ควอดดรูเปล เมื่อรินใส่แก้วจะพบกับเนื้อเบียร์สีน้ำตาลเข้มจนถึงน้ำตาลดำ มาพร้อมกับฟองสีน้ำตาลอ่อนๆให้กลิ่นหอมหวานอันซับซ้อน คล้ายกลิ่นเกสรดอกไม้ เมล่อน และผลไม้จำพวกเปลือกสีดำเข้ม เมื่อยกดื่มจะสัมผัสได้ถึงกลิ่นดังกล่าวได้ชัดเจนมากขึ้น มีรสหวานและขมที่สร้างสมดุลให้กันดีมากๆ และเป็น 1 ในเบียร์ที่ทั่วโลกให้การยอมรับและจัดให้อยู่อันดับต้นๆของเบียร์ที่รสชาติ ดีที่สุดในโลกอีกด้วย
เปอร์เซ็นแอลกอฮอล์ 11.3% (ถือว่าสูงๆมากและสูงที่สุดเท่าที่เซได้แนะนำมาทั้งหมด)



                                           
 ภาพจากมุมสูง


แก้วที่ดูหรูมีสไตล์


ถึงขวดจะเล็กแต่ขอบอกเมานะคะ


               ใครที่ชอบเบียร์หนักๆต้องขอให้เลือก Trappist Rochefort ไว้เป็นตัวเลือกแรกด้วยนะคะ รับรองเลยว่าเพื่อนๆจะต้องไม่ผิดหวังกันแน่นอน เวลาที่กินตัวนี้เซรู้สึกเหมือนได้บุญนิดๆยังไงไม่รู้นะ55+ เพราะเห็นเค้าบอกว่ารายได้ส่วนหนึ่งก็จะเอาไปเป็นการกุศล 
               ยังไงเซก็ขอฝากเบียร์ตัวนี้ให้เพื่อนๆได้ไปลองชิมกันดูนะคะ และหากอยากรู้จักตัวไหนก็มาเม้นบอกกันที่ข้างล่างหน่อยเซจะได้ไปลองชิมดู อิอิ 



วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

Paulaner Salvator


               อย่างที่เคยพูดให้ฟังบ่อยๆ เบียร์ทั้งหลายที่อยู่ในตลาดเมืองไทย เกือบทั้งหร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นลาเกอร์เบียร์ทั้งหมด สิงห์ ช้าง ลีโอ เชียร์ อาชา ไฮเนเก้น ซานมิเกล ( พิลสเนอร์ก็ใกล้เคียงลาเกอร์ ) แอลกอฮอล์ก็อยู่ประมาณ 4.5 - 5.4 ไม่เกินนี้เข้าหน้าหนาวแล้ว ลมเย็นๆเริ่มพัดมาให้เด็กขี้เหงา ออกอาการเพ้อซะหลายคนเข้าหน้าหนาวแล้ว จะกินเบียร์รับหนาว ต้องแรงๆหน่อย  วันนี้ขอแนะนำ เบียร์ตัวแรง  ที่แอลกอฮอล์ สูงโด่ จน "ฟาดหมดแก้วแล้วจะกลิ้ง"
  • Paulaner Salvator   ประเภท Ale ( Dopple bock )  Alc. 7.9%  บ้านเกิด มิวนิค German ปริมาตร 0.33L.
    สีแดงส้ม อำพัน ทึบลึก น่ากลัวมาก ตอนที่รินออกมาสังเกตได้เลยว่าข้นเหนียว "เจ้มจ้น" เต็มปากเต็มคำ หอมน้ำตาลไหม้ คาราเมล ท๊อฟฟี่ ฟูลบอดี้ หวานหอม
    • Salvator เป็นภาษาละติน น่าจะแปลว่า "ผู้เยียวยา" หรือ "ผู้รักษา" ฉลากนักบวชกับขุนนาง น่าสนใจ
    • ดื่มเบียร์ตัวนี้ไม่ต้องเย็นมาก เนื่องจากตัวนี้เป็น ALE เบียร์เอลสามารถกินแบบไม่เย็นได้ รสชาติก็ยังคงความอร่อย ซึ่งจะต่างจากลาเกอร์ ลองกินแบบไม่เย็นดูซิ 55+ นรกชัดๆ ตัวอย่างเช่น ลีโอ สิงฆ์ 

     ตัวนี้เป็นดับเบิ้ลบ๊อค หากใครที่ชอบตัวแรงแนะนำเลยคะ ตัวนี้ๆๆๆๆๆ แต่บอกก่อนนะคะเดี๋ยวจะเข้าใจผิด หลายคนคิดว่า เบียร์ที่แรงต้องอเป็นเบียร์ดำเท่านั้น ไม่จริงเลยคะ ตัวนี้ไม่ใช่เบียร์ดำแต่ก็ยังแรง ลองดูกันนะ
     
ขวดเล็กนะคะไม่เหมือน Paulaner ตัวอื่นๆ


นี่มาดูกันใกล้ๆ
  • เบียร์แรงๆพวกนี้เหมาะกับดื่มแบบละเลียด ไม่ต้องเย็นจัด  อากาศหนาวแบบนี้ เบียร์ไม่เสียอุณหภูมิ ดื่มได้นานไม่ต้องรีบ
  • 2 ขวดก็แทบจะตีลังกากลับบ้าน
  • 3 ขวด  เริ่มพูดไม่รู้เรื่อง
  • 4 ขวด ......หลับ
  • เบียร์แรงจริงๆ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่


วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

เบียร์ที่มียีสเยอะที่สุด






               FULLER'S ตัวนี้เป็นอินเดีย เพล เอล หรือ ไอพีเอ (IPA) เป็นเบียร์ประเภทย่อยของ เพล เอล แต่เบียร์สไตล์นี้ก็กลายมาเป็นเบียร์เอลที่นิยมกันมากที่สุดแบบหนึ่ง  ไอพีเอ ในตอนเริ่มแรกเป็นเบียร์ที่สามารถส่งออกจากสหราชอาณาจักรไปยังประเทศอินเดีย ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1800  เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีการนำระบบแช่เย็นมาใช้ เบียร์จึงเสียก่อนที่จะไปถึงประเทศอินเดีย  วิธีแก้ปัญหาก็คือ เติมใบฮ็อพลงไปเยอะๆ ซึ่งช่วยทำหน้าที่เป็นสารกันเสียธรรมชาติ  สิ่งที่ได้มาก็คือเบียร์ที่มีปริมาณฮ็อพสูง และมีรสชาติเหมือนกับ เพล เอล ซึ่งรสชาติดีและให้ความสดชื่นในสภาวะอากาศร้อน
ไอพีเอ กลายเป็นเบียร์ที่นิยมดื่มกันในหมู่ของทหาร กะลาสี นักผจญภัย และพวกเรือรบส่วนตัว และเมื่อพวกเขาเดินทางกลับบ้าน พวกเขาก็นำความต้องการกลับมาด้วย  เนื่องด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้เริ่มมีการเติมฮ็อพลงไปในเบียร์เอลของอังกฤษ



แก้วของตัว IPA หมด เลยเอาแก้วของ PORTER มาใช้ก่อน



 สีเหลืองอำพัน



ตัวนี้จะไม่ค่อยมีฟอง


               เบียร์ตัวนี้อย่างที่ได้กล่าวมาคือจะมียีสเยอะกว่าเบียร์ทั่วไป กลืนเข้าไปอึกแรกถึงกับแสบคอกันเลยทีเดียว ซึ่งจะแตกต่างจากตัว FULLER'S ตัวอื่นๆ ตัวอื่นจะนุ่มและกินง่ายมาก สำหรับเซแล้วตัวนี้ขอผ่านคะ ความรู้สึกส่วนตัวนะ คล้ายๆว่าแรงไป แต่อันที่จริงแล้วปริมาณแอลกอฮอร์เพียงแค่ 5.3 เท่านั้นเอง บางตัว 8.3 ยังกินง่ายกว่าตัวนี้อีก -..- 

               เอาละคะเดี๋ยวต้องขอเวลาไปทำธุระแป๊บนึง เดี๋ยวไว้กลับมาจะมาอัพให้เพื่อนอ่านต่อนะคะ

Triple Karmeliet

               ในตอนนี้นะคะเซขอเสนอเบียร์ตระกูลเบลเยี่ยมที่ถือได้ว่าเก่าแก่มากที่สุด  มีชื่อว่า Karmeliet Triple ครั้งแรกเลยในที่เซได้ไปนั่งร้านเบียร์นอกร้านหนึ่งแถวมอรังสิต พอบอกเจ้าของร้านว่าแนะนำหน่อยเพราะช่วงแรกยังไม่รู้พวกเบียร์นอกไม่มาก Karmeliet Triple ก็เป็นตัวแรกเลยที่พี่เค้าแนะนำ พี่เค้าบอกว่ามันเป็นเบียร์เก่าแก่มากกว่า300ปีเลยทีเดียว กลับมาบ้านเลยลองหาข้อมูลดู เดวเพื่อนๆลองอ่านกันนะคะ
               Triple Karmeliet เป็นเบียร์ที่ผลิตตามสูตรเก่าแก่ตั้งแต่ปี 1679 ที่เกิดในวัดวิหารเก่าชื่อ Carmelite ใน Dendermonde ในเบลเยี่ยม ที่คิดค้นมามากว่า 300 ปีที่แล้ว ด้วยสูตรที่ใช้ธัญพืชสามชนิด ทั้งข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และข้าวบาร์เลย์ เบียร์แอ็บบีย์สไตล์ Triple ที่รสหนักแน่นแต่ละมุนนี้จะผ่านขั้นตอนการหมักครั้งสุดท้ายภายในขวด ด้วยความภาคภูมิใจและวิสาหะจึงได้เบียร์ที่เป็นธรรมชาติ 100%

ความเป็นมาของ Karmeliet Triple 
               เรื่องราวของ Bosteels Brewery เริ่มก่อตั้งในหมู่บ้านเล็ก Buggenhout ด้วยลานที่กว้างขวาง ตึกที่สวยงามที่เคยเป็นบ้านพักอาศัย รวมไปถึงหอคอยเก่าที่เคยสถานที่ผลิตเบียร์ โดยโรงเบียร์นี้เป็นของตระกูล Bosteels มากกว่า 200 ปีและทายาทถึง 7 รุ่น โดย Evarist Bosteel บรรพบุรุษของตระกูลเริ่มก่อตั้งโรงเบียร์ขึ้นในปี 1791 หลังจากนั้นก็ Jozef ผู้ที่มีลูกชาย 3 คน โดยคนนึงชื่อ Fran ซึ่งต่อมาได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองถึง 13 ปี ส่วนลูกอีกสองคนคือ Martin และ Lodewijk ก็สืบทอดตระกูลคนทำเบียร์ของครอบครัวต่อไป จนถึงรุ่นของ Leon ลูกของ Martin ที่เข้ามาดูแลธุรกิจในปี 1938 เรื่อยไปจนถึง Antoine Bosteel ที่เป็นลูกของ Leon อีกทอดหนึ่งได้สืบทอดมรดกต่อไป 


               เราไปดูหน้าตาของเบียร์ในตำนานกันเลยดีกว่า ....................(รูปอาจจะน้อยนะคะ เพราะแบตหมดซะก่อน)








ดูจากอะไรหลายๆอย่างแล้วความรู้ก็บ่งบอกเลยว่าเก่าแก่แน่นอน แล้วอีกอย่างเรื่องประวัติของความเป็นมายาวนานถึงตั้ง 300 ปี เอาเป็นว่าตัวนี้ก็โอเคนะสำหรับเพื่อนๆที่นิยมเบียร์นอก ลองหามาชิมกันดูนะคะ
ครั้งนี้รูปอาจจะน้อยไปหน่อยนะคะ เดี๋ยวไว้จะชดเชยใหม่ในครั้งน้าละกันน้า ^^





ALE*



               ในสัปดาห์นี้ เราจะมาคุยกันเรื่องเบียร์เอลชนิดต่างๆ ที่มีขายในเมืองไทยบ้าง  ดังที่ได้เคยเกลิ่นไปว่า “เอลคือเบียร์หมักปากถัง หมายความว่า การหมักเกิดขึ้นที่ด้านบนสุดของถังหมัก  นอกจากนี้ เบียร์เอลยังเกิดการหมักที่อุณหภูมิสูงกว่า จึงทำให้เบียร์ชนิดนี้มีสีเข้มกว่า และโดยทั่วไปจะมีรสชาติแรงกว่าเบียร์ลาเกอร์”

เอล  ประวัติโดยย่อของเบียร์ดี
               
เอลเป็นเครื่องดื่มที่มีอายุเก่าแก่กว่าอารยธรรมใดๆ ในปัจจุบัน  เท่าที่เราทราบ เครื่องดื่มที่มีความคล้ายคลึงกับเอลเริ่มหมักกันครั้งแรกเมื่อช่วงประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาลในยุคเมโสโปเตเมียโบราณ (ปัจจุบันคือประเทศอิรักและซีเรีย)  นอกจากนี้ยังมีการหมักเครื่องดื่มชนิดนี้ในยุคอียิปต์โบราณ และต่อมาก็ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรปโดยกองทหารโรมัน เรื่อยมาจนถึงสหราชอาณาจักรเมื่อประมาณปีคริสตศตวรรษที่ 55
ในช่วงยุคกลาง เบียร์เอลเป็นเครื่องดื่มธรรมดาที่ดื่มได้แทบจะทุกคน รวมทั้งเด็กๆ ด้วย เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารและที่จริงแล้วปลอดภัยกว่าการดื่มน้ำ  เบียร์เอลส่วนมากที่ดื่มกันในยุโรปยุคกลางนั้น ความจริงพวกพระเป็นผู้หมักและปรับปรุงคุณภาพ  เมื่อมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1400 จึงเริ่มมีใบฮ็อพในสหราชอาณาจักรโดยชาวดัทช์เป็นผู้นำเข้ามา และผู้ผลิตเบียร์ก็เริ่มนำใบฮ็อพมาหมักร่วมกับเบียร์เอล
ตลอดช่วงเวลาหลายปี ได้มีการพัฒนาเบียร์เอลมากมายหลายชนิด แต่ในส่วนใหญ่ เบียร์เอลก็นับว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักในช่วงหลายร้อยปี  สัปดาห์นี้ เราจะกล่าวถึงเบียร์เอลประเภทหลัก 4 ประเภทแรก
บิทเทอร์ เอล
               
บิทเทอร์ เอล เป็นเบียร์แบบที่ได้รับความนิยม ผลิตในสหราชอาณาจักร และปกติจะมีสีต่างกันไปตั้งแต่ทองจนไปถึงเหลืองอำพัน มีรสชาติอ่อนๆ ของผลไม้ และมีรสขมของใบฮ็อพ  เบียร์บิทเทอร์จะมีความหลากหลายของบอดี้ตั้งแต่อ่อนไปจนเข้ม และก็ยังเป็นเบียร์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบสำหรับการดื่ม  เมื่อเบียร์บิทเทอร์ เอล มีรสแรงและเข้ม จึงได้รับการตีตราเป็น อีเอสบี (ESB, Extra Strong Bitter) ซึ่งเป็นเบียร์ยอดนิยมของผับในสหราชอาณาจักร  เบียร์บิทเทอร์ เอล ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่ อีเอสบี ของ ฟุลเลอร์
เพล เอล
               
เพล เอล เป็นเบียร์เอลในสไตล์ที่ปกติจะมีสีค่อนข้างอ่อน  เพล เอล มีความสมดุลที่พอดีของรสชาติมอลต์และใบฮ็อพ ซึ่งทำให้เบียร์มีอาจมีรสชาติอ่อนๆ ของผลไม้ และอาจมีทั้งแบบค่อนข้างอ่อนไปจนถึงทั้งขมทั้งแรงแบบจัดจ้าน
เพล เอล จะคล้ายกับ บิทเทอร์ เอล แต่มักจะแรงกว่าเล็กน้อยและมีฮ็อพน้อยกว่า  ทำให้เบียร์นี้เป็นที่ชื่นชอบของคนที่รับรสได้ดีกว่า  ตัวอย่างที่ดีของ เพล เอล คือ โยน่า โยน่า เอล ของ โย-โฮ บริววิ่ง
บราวน์ เอล
               
บราวน์ เอล เป็นเบียร์ประเภทที่มีฮ็อพน้อย มีรสหวานเล็กน้อย มักจะมีสีน้ำตาลไปจนถึงเหลืองอำพันเข้ม  บราวน์ เอล หลายชนิดมักจะมีรสชาติคล้ายถั่วนิดๆ โดยเฉพาะถ้ามาจากทางตอนเหนือของสหราชอาณาจักร  บราวน์ เอล ของอเมริกัน มักจะแรงกว่า บราวน์ เอล ของอังกฤษ และบางทีจะส่งกลิ่นฉุนของผลไม้รสเปรี้ยวมากกว่าเล็กน้อย
บราวน์ เอล ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ นิวคาสเซิล บราวน์ ซึ่งก็น่าเศร้าที่ไม่มีขายในเมืองไทย  ถ้าคุณจะหาเบียร์ที่คล้ายๆ กัน ก็อาจจะลอง เฮเซลนัท บราวน์ ของ โร้ก ดูก็ได้
อินเดีย เพล เอล
               
อินเดีย เพล เอล หรือ ไอพีเอ (IPA) เป็นเบียร์ประเภทย่อยของ เพล เอล แต่เบียร์สไตล์นี้ก็กลายมาเป็นเบียร์เอลที่นิยมกันมากที่สุดแบบหนึ่ง  ไอพีเอ ในตอนเริ่มแรกเป็นเบียร์ที่สามารถส่งออกจากสหราชอาณาจักรไปยังประเทศอินเดีย ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1800  เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีการนำระบบแช่เย็นมาใช้ เบียร์จึงเสียก่อนที่จะไปถึงประเทศอินเดีย  วิธีแก้ปัญหาก็คือ เติมใบฮ็อพลงไปเยอะๆ ซึ่งช่วยทำหน้าที่เป็นสารกันเสียธรรมชาติ  สิ่งที่ได้มาก็คือเบียร์ที่มีปริมาณฮ็อพสูง และมีรสชาติเหมือนกับ เพล เอล ซึ่งรสชาติดีและให้ความสดชื่นในสภาวะอากาศร้อน
ไอพีเอ กลายเป็นเบียร์ที่นิยมดื่มกันในหมู่ของทหาร กะลาสี นักผจญภัย และพวกเรือรบส่วนตัว และเมื่อพวกเขาเดินทางกลับบ้าน พวกเขาก็นำความต้องการกลับมาด้วย  เนื่องด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้เริ่มมีการเติมฮ็อพลงไปในเบียร์เอลของอังกฤษ 
             
               คะและข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ต้องขอขอบคุณ คูณอิเตอร์เน็ตอย่างสุดซึ้ง TT เพราะให้เซคิดเองคงคิดไม่ได้แน่ๆ55+ แล้วเดี๋ยวในตอนต่อไปนะคะเราจะมาเข้าโหมดเบียร์ตามแบบของเซกันละ จุฟๆ บายย